ภายในไม่กี่วันหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เยาวชนและผู้สูงอายุจากทุกภูมิหลังได้หลั่งไหลลงสู่ท้องถนนด้วยความโกรธแค้นเพื่อประท้วงต่อต้านทหาร ตั้งแต่นั้นมา นับเป็นเวลาเกือบ 4 ปีแล้วที่ชาวเมียนมาได้เรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นระบอบประชาธิปไตยและปล่อยตัวเหล่าผู้นำและนักโทษทางการเมืองคนอื่น ๆ ที่ถูกกักขังทั้งหมด ในขณะที่ต้องเผชิญกับมาตรการปราบปรามด้วยความรุนแรงจากกองทัพ ตามข้อมูลของสมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมือง จนถึงเดือนตุลาคม 2567 มีการยืนยันว่าผู้คนกว่า 5,909 คนถูกสังหารโดยเผด็จการทหาร และกว่า 27,612 คนถูกจับกุม โดยกว่า 21,062 คนกำลังถูกคุมขัง และกว่า 169 คน ได้รับโทษประหารชีวิต มีเด็ก 573 คนถูกจับกุมและกว่า 655 คนถูกฆ่า ตัวเลขผู้พลัดถิ่นในประเทศและนอกพรมแดนพุ่งสูงกว่า 3 ล้านคนและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ท่ามกลางความล้มเหลวของประชาคมระหว่างประเทศในการให้ความสนใจและดำเนินการตอบโต้ เหล่าประชาชนชาวเมียนต่างก็ไม่ยอมแพ้ และยังคงให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลพลัดถิ่นฝ่ายตรงข้าม นั่นก็คือรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government) เยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนมากได้ลุกฮือขึ้นจับอาวุธและเข้าร่วมการต่อสู้เป็นหนทางสุดท้ายเพื่อต่อต้านเผด็จการ ผ่านการพึ่งพาฝ่ายต่อต้านติดอาวุธโดยกองกำลังพิทักษ์ประชาชนและกองทัพชาติพันธุ์เพื่อยึดฐานที่มั่นและคว้าชัยในการปฏิวัติอย่างเบ็ดเสร็จ
การยืนหยัดต่อต้านอันท้าทายของเหล่านักปฏิวัติถูกเฉลิมฉลองผ่านชุดภาพถ่ายศิลปะที่ประกอบอยู่ในงานนิทรรศการของช่างภาพสารคดี Ta Mwe (นามแฝง) และ ลิลลี่ (นามแฝง) ช่างภาพศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุดงานภาพถ่ายคู่แฝด “Forever Young” ของลิลลี่ ซึ่งประกอบด้วยภาพถ่ายคอลลาจของผู้ประท้วงรุ่น Gen Z เพื่อยกย่องการต่อสู้ของพวกเขาเพื่อรักษาประเทศเอาไว้จากระบอบเผด็จการ เมื่อภาพถูกถมพื้นหลังให้เต็มไปด้วยสีแดง ลักษณะของภาพเสมือนบุคคลก็เลือนหายไปอย่างน่าทึ่ง ใบหน้าและตัวตนที่แท้จริงของผู้ประท้วงถูกซ่อนอยู่ในความสับสนวุ่นวาย ในบางกรณีถูกบดบังด้วยดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิอันละเอียดอ่อน และบ้างก็ถูกบดบังด้วยปืนและกระสุน ในขณะเดียวกัน ในชุดงาน “ลวดลายการมีอยู่” ของ Ta Mwe หรือภายใต้ชื่อเดิมคือ “เหล่าดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ” ได้เน้นให้เห็นว่าเหล่าผู้ประท้วงแสดงออกถึงการอุทิศต่อเสรีภาพและประชาธิปไตยผ่านศิลปะบนเรือนร่างของพวกเขาอย่างไร ท่ามกลางฉากหลังของการปราบปรามของทหารต่อการชุมนุมประท้วงและการกดขี่เสรีภาพในการแสดงออก รอยสักในรูปสัญญะทางการเมืองของพวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นยืนหยัดของพวกเขาเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย แม้ต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการถูกคุมขังโดยทหารหรือการถูกเผารอยสัก กล่าวโดยรวม ชุดผลงานของศิลปินทั้งสองได้เน้นย้ำว่า การปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิของเมียนมาจะยังคงยืนหยัดเดินหน้าต่อไปแม้อยู่ภายใต้โศกนาฏกรรมความโหดร้ายโดยระบอบการปกครองของทหารก็ตาม
ผู้จัดงาน
นิทรรศการนี้จัดขึ้นและคิวเรทโดย SEA Junction ร่วมมือกับโครงการ BACC pop•up
SEA Junction ตั้งอยู่ที่ห้อง 407- 408 หอศิลปกรุงเทพฯ มุ่งสร้างความเข้าใจและการเห็นคุณค่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทุกๆด้านของมิติสังคมวัฒนธรรม ตั้งแต่ศิลปะและวิถีชีวิตไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา (ดูเว็บไซต์ seajunction.org)
information provided by event organizer