นิทรรศการ

The Grandmaster: After Tang Chang

วิชิต นงนวล

วันที่:

11 มกราคม 2568 - 26 กุมภาพันธ์ 2568

นิทรรศการ

The Grandmaster: After Tang Chang

วิชิต นงนวล

วันที่:

11 มกราคม 2568 - 26 กุมภาพันธ์ 2568

นิทรรศการ

The Grandmaster: After Tang Chang

วิชิต นงนวล

วันที่:

11 มกราคม 2568 - 26 กุมภาพันธ์ 2568

ละลานตา ไฟน์อาร์ต มีความยินดีนำเสนอนิทรรศการโดย วิชิต นงนวล ผลงานที่สร้างบทสนทนากับจ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทย หากแต่ในยุคอดีต ก่อนระบบทุนนิยมจะถือกำเนิด ยังไม่มีแนวคิดเรื่องลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา การลอกเลียนแบบครูบาอาจารย์ก็เป็นวัตรปฏิบัติที่ทำกันเป็นปกติในโลกของการสร้างสรรค์ ไม่ต่างจาก วิชิต นงนวล ซึ่งหลงใหลศรัทธาในผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียนนักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการที่ได้จัดร่วมกับภัณฑารักษ์ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้ ซึ่งสามารถจำแนกแยกออกมาเป็นสามแนวทาง

แนวทางแรก คือการลอกเลียนผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง ความทรงจำที่เคยได้สังเกตและสัมผัสผลงานของปรมาจารย์ด้วยตา และการศึกษากระบวนการทำงาน วิถีปฏิบัติ ตลอดจนประเภทของสีและวัสดุที่ใช้ จากการบอกเล่าจากปากของทายาทของจ่างโดยตรง จนปรากฏเป็นผลงานที่ถึงแม้จะไม่เหมือนกับต้นฉบับอย่างไม่ผิดเพี้ยน หากแต่ก็สามารถเก็บเอาอารมณ์ ความรู้สึก และจิตวิญญาณแบบจ่างออกมาให้เราได้สัมผัสอย่างครบถ้วน ราวกับเป็นการพลิกฟื้นคืนชีวิตจ่างให้หวนกลับมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาก็ไม่ปาน

แนวทางที่สอง แสดงให้เห็นถึงรูปแบบและเทคนิคการทำงานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นการจำลองหนึ่งในผลงานชิ้นเอกของจ่างอย่าง ตัดมือกวี ควักตาจิตรกร (1973) ศิลปินได้ตีความผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาใหม่ด้วยการสร้างขึ้นจากกระบวนการถักทอขนสัตว์ (Wool) แทนการใช้สีสันบนผืนผ้าใบ ถึงแม้เส้นใยสิ่งทออันนุ่มนวลละมุนละไม ผู้ชมก็ยังคงสัมผัสถึงปณิธานอันแรงกล้าในการประท้วงต่อต้านการล่วงละเมิดและปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่จ่างส่งผ่านภาพนี้ออกมาได้อยู่ดี ศิลปินยังใช้กระบวนการเดียวกันนี้ บอกเล่าเรื่องราวของจ่างและครอบครัว การถักทอเส้นใยธรรมชาติอันนุ่มนวลอ่อนโยนให้กลายเป็นภาพของครอบครัวแซ่ตั้ง ก็เปรียบเสมือนสายใยแห่งความผูกพันที่ถักทอร้อยรัดสมาชิกครอบครัวเหล่านี้และสายสัมพันธ์และความรักของเหล่าบรรดาทายาทรุ่นหลังนี่เอง

แนวทางที่สาม คือการสร้างบทสนทนาด้วยการจำลองรูปกายของจ่างและเหล่าบรรดาทายาทของเขาขึ้นมาใหม่ ในรูปของประติมากรรมสามมิติ ด้วยเทคนิคการถักทอขนสัตว์ หรือการทำงานเครื่องเคลือบดินเผาด้วยกระบวนการที่ล้อเลียนภูมิปัญญาโบราณของญี่ปุ่น ในการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักเสียหายอย่าง คินสึงิ (Kintsugi) สะท้อนวิถีทางและปรัชญาการทำงานของจ่าง ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิปัญญาและปรัชญาแบบตะวันออก มากกว่าจะได้รับอิทธิพลจากวิถีทางศิลปะแบบตะวันตก เฉกเช่นศิลปินในกระแสความเคลื่อนไหวแบบศิลปะสมัยใหม่ของไทยในยุคสมัยเดียวกัน วิชิตยังแสดงออกถึงวิถีคิดแบบตะวันออกของจ่าง 

information provided by event organizer

ละลานตา ไฟน์อาร์ต

2198/10-11 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 เขตช่องนนทรีกรุงเทพฯ 10120

โซน

2

อ. - ส. 10:00-19:00 (หยุดวันอาทิตย์-จันทร์)

BTS: ช่องนนทรี BRT: ถนนจันทน์

ละลานตา ไฟน์อาร์ต

2198/10-11 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 เขตช่องนนทรีกรุงเทพฯ 10120

โซน

2

อ. - ส. 10:00-19:00 (หยุดวันอาทิตย์-จันทร์)

BTS: ช่องนนทรี BRT: ถนนจันทน์