นิทรรศการ

The Engineers

Cole Lu

วันที่:

24 ตุลาคม 2567 - 30 มีนาคม 2568

นิทรรศการ

The Engineers

Cole Lu

วันที่:

24 ตุลาคม 2567 - 30 มีนาคม 2568

นิทรรศการ

The Engineers

Cole Lu

วันที่:

24 ตุลาคม 2567 - 30 มีนาคม 2568

Nova Contemporary ขอเชิญชวนชม "The Engineers" นิทรรศการเดี่ยวของ Cole Lu ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Bangkok Art Biennale (BAB2024): Nurture Gaia ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2567 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2568 นิทรรศการนี้จัดแสดงในพื้นที่เฉพาะที่พิพิธภัณฑ์และหอสมุดของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดหลวงชั้นหนึ่งที่สร้างขึ้นในต้นศตวรรษที่ 19

นิทรรศการขยายเวลาแสดงจนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2568 โปรดทราบ: ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป สถานที่จะเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น

ภายในนิทรรศการ, Cole Lu จะใช้ประตูขนาดใหญ่สองบานที่ถูกเผาด้วยไม้สะเดา (Sao Dao) และผ้าลินินเพื่อสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับเวลา การเดินทางข้ามเวลา, ข้อความทางประวัติศาสตร์, คัมภีร์ศาสนา, และตำนาน รวมถึงเครื่องมือโบราณ โดยใช้ไฟเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ท่าทางทางศิลปะและสะท้อนถึงจุดเริ่มต้นของการเล่าเรื่องก่อนการก่อสร้างทางสังคม ซึ่งเป็นการสำรวจปัญหาด้านประวัติศาสตร์ ความทรงจำ และบ้าน

ประตูทั้งสองบานในนิทรรศการยังสะท้อนการเข้าสู่พื้นที่เดิมของพิพิธภัณฑ์และหอสมุด ทำหน้าที่เป็นประตูเชื่อมสู่การหมุนวนของจักรวาลระหว่างการเกิดและการตาย.

มุมมองจากผู้ชม: แบ่งปันความคิดและประสบการณ์

โดย ประทับชัย (IG: non_pit_naja)

บานประตูทั้งสองหากมองครั้งแรกก็คงให้ความรู้สึกที่แปลกตา อาจเป็นเพราะสถานที่ตั้งของมัน หรือการที่ประตูทั้งสองมีบานที่ไม่เหมือนกัน ไม่ก็สีที่เข้มเสียจนมองไม่ออกว่านี่คือไม้สะเดา แต่ในความแปลกประหลาดนี้ หากเราลองพินิจวิเคราะห์สักยี่สิบวินาทีแล้วนั้น สิ่งต่างๆกลับดูลงตัวและกลมกลืนไปกับพื้นที่อย่างน่าหลงใหล นั่นคงจะเป็นความรู้สีกเบื้องต้นจากการมอง “The Engineers” โดยที่ยังไม่ได้คิดหาความหมาย หรือตีความถึงเหตุผลการมีอยู่ของมัน

นี่คืองานของ “Cole Lu” ศิลปินชาวไต้หวันผู้มักใช้ไฟในงานศิลปะที่เขาสร้าง จนก่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องหมายการค้าเฉพาะตัว และนั่นก็สามารถอธิบายถึงเหตุผลในความเข้มของประตูที่แปลกจากไม้สะเดาปกติได้ ประตูบานไม้จะมีลวดลายที่ถูกแกะสลักไว้เป็นรูปของธรรมชาติ ที่ออกแนว “ภัยธรรมชาติ” เสียมากกว่า นอกจากนี้ยังมีลวดลายของโครงกระดูกที่ทำให้เราคิดได้เล่น ๆ ว่าคือมันคือไดโนเสาร์ นอกจากนี้การใช้ไฟของ Lu ไม่ได้มีแค่กับตัวไม้ แต่บนผ้าลินินที่ถูกใช้แทนบานของประตูที่อยู่ถัดไป ก็มีลวดลายของสัตว์และศาลพระภูมิ สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกวาดด้วยเหล็กความร้อนสูงที่ถูกใช้ต่างพู่กันทั้งสิ้น รวมถึงการที่บนแผ่นผ้าลินินมีร่องรอยที่ขาดไหม้จากความร้อน และมีสีจากผงถ่านที่ถูกทาลงไป ก็เกิดเป็นความ “ไม่เหมือนใคร” ที่ลงตัว

       หากลองตีความความหมายของงานนี้ดู ตัวผมเองมีความคิดเห็นว่า งานนี้สามารถตีความได้หลายแบบตาม “ตำแหน่งการมอง” แบบที่หนึ่งคือหากเรามองงานตรง ๆ หรือก็คือมองผ่านประตูที่ไม้ไปที่ประตูผ้า สามารถสื่อความหมายได้ถึงการที่เราได้เกิดมาและได้ก้าวเข้าสู่ธรรมชาติ หรือได้ก้าวเข้าสู่โลก ได้ใช้ชีวิต จากนั้นจึงได้ตายและทิ้งกายหยาบเอาไว้ ก้าวเข้าสู่ประตูต่อไปที่ซึ่งไม่สามารถเปิดได้ด้วยกายหยาบของเรา หรือจะเป็นการสลับ และไปยืนมองจากตรงประตูผ้าลินินก่อน ทำให้คิดถึงตัวเราคือวิญญาณที่กำลังก้าวผ่านประตูผ้าไปเกิดจนมีรูปลักษณ์ร่างกาย แล้วค่อยเดินผ่านประตูไม้ไปเพื่อ “ใช้ชีวิต” ใหม่

"

"

ทำให้นึกถึง“การเดิมพันของปาสคาล”ที่ให้เราเห็นถึงปลายทางที่มีโอกาสเกิด แล้วเราค่อยคิดถึงความคุ้มค่าว่าเราจะใช้ชีวิตยังไง

        หรือหากจะตีความให้เป็นศาสนาหน่อย ก็ต้องยืนอยู่ระหว่างประตูทั้งสองประตู ซึ่งจะทำให้รู้สึกถึงการละทิ้ง ประตูไม้คือการที่เราละทิ้งจากชีวิตปกติหรือก็คือการตาย เป็นการละทิ้งกายเนื้อ และการที่เราจะผ่านประตูผ้าลินินจำเป็นต้องละทิ้ง“ทุกสิ่ง”ก่อนจึงจะผ่านไปได้ เปรียบเสมือนกับการเข้าถึงนิพพาน ซึ่งหมายถึงการไม่ต้องเกิดใหม่และหลุดพ้นจากชีวิต ฉะนั้นแล้ว พวกเราคนธรรมดาจะทำได้ก็แค่ผ่านประตูไม้ไปมา คอยวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร จนกว่าจะสามารถบรรลุโมกขธรรมและผ่านประตูผ้าไปได้

ซึ่งนำเรามาสู่อีกเรื่องที่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด นั่นคือ “เวลา”  การที่เราเดินอยู่ระหว่างประตูทั้งสองอาจเปรียบได้กับการที่เราได้ข้ามกาลเวลาไปมา ดูช่วงของการเกิด เติบโต และตาย จนทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิต ถึงแม้ว่าหลังจากตายไป มันอาจจะมี หรือไม่มีโลกหน้าอยู่ แต่เราก็ควรใช้โอกาสที่มีอยู่ตอนนี้ให้ดีที่สุด

สุดท้ายนี้ งาน “The Engineers” สำหรับผมแล้วทำให้นึกถึง “การเดิมพันของปาสคาล” ที่ได้แสดงให้เราเห็นถึงปลายทางที่มีโอกาสเกิด จากนั้น เราจึงค่อยมาคิดถึงความคุ้มค่าว่าเราจะใช้ชีวิตยังไง เพราะสำหรับบางคนที่ชีวิตในตอนนี้มันอาจจะแย่ หรือน่าเบื่อ ไร้สีสันเสียจนอยากจะคาดหวังกับโลกหน้า แต่มันก็ไม่มีอะไรที่เป็นตัวการันตีให้กับเรา ฉะนั้น เราควรจะใช้สิ่งที่มีตอนนี้ให้ดีที่สุด แสวงหาโอกาส ประสบการณ์ ความรู้และความสุข ตักตวงมันให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เราจะได้ไม่ต้องมาเสียใจที่ “ไม่ได้ใช้ชีวิต” ให้สมกับที่ได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์

information provided by event organizer

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

248 ถนนพระสุเมรุ, วัดบวรนิเวศ, พระนคร, กรุงเทพมหานคร 10200

โซน

1

วันเสาร์-อาทิตย์: 09.00 - 15.00

BTS สามยอด

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

248 ถนนพระสุเมรุ, วัดบวรนิเวศ, พระนคร, กรุงเทพมหานคร 10200

โซน

1

วันเสาร์-อาทิตย์: 09.00 - 15.00

BTS สามยอด

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

248 ถนนพระสุเมรุ, วัดบวรนิเวศ, พระนคร, กรุงเทพมหานคร 10200

โซน

1

วันเสาร์-อาทิตย์: 09.00 - 15.00

BTS สามยอด