นิทรรศการ

Let It Wash Over

Tunlaya Dunn

วันที่:

29 มีนาคม 2568 - 27 เมษายน 2568

นิทรรศการ

Let It Wash Over

Tunlaya Dunn

วันที่:

29 มีนาคม 2568 - 27 เมษายน 2568

นิทรรศการ

Let It Wash Over

Tunlaya Dunn

วันที่:

29 มีนาคม 2568 - 27 เมษายน 2568

“Let It Wash Over” an Exhibition by Tunlaya Dunn

ช่วงปลายปี 2024 ตุลยาต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อคอยดูอาการของแม่ที่กำลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเป็นว่าเล่น การได้เห็นแม่ที่ไม่ได้แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากอาการที่ทรุดลงทำให้เธอได้มีเวลาเตรียมใจอยู่พักใหญ่ แต่นั่นก็เทียบกับวันที่แม่จากไปจริงๆ ไม่ได้เลย

รอยร้าวที่มีอยู่แล้วในมหาสมุทรอันเงียบงันเริ่มเคลื่อนตัว ความรู้สึกของเธอเองที่ต้องสูญเสียคนใกล้ตัวที่สุดในชีวิตเป็นครั้งแรก ทวีคูณกำลังแรงขึ้นด้วยความรู้สึกของคนรอบข้างของแม่ที่โทรมาร้องไห้กับเธอในฐานะลูกของคนที่พวกเขารัก ตุลยาไม่ได้เข้มแข็งแบบที่คนอื่นคิด ที่เธอไม่ได้ร้องไห้หรือแสดงออกซึ่งหัวใจที่แตกสลายที่งานศพ เป็นเพราะเธอพยายามกักเก็บความรู้สึกที่แท้จริงไว้ และรวบรวมสติเพื่อรับมือกับสถานการณ์และเรื่องต่างๆ ที่ต้องสะสาง การที่ไม่สามารถปล่อยให้ตัวเองรู้สึกได้อย่างเต็มที่ คงคล้ายกับการพยายามผลักคลื่นแต่ละลูกกลับลงไป และแรงสั่นสะเทือนที่โลกเหนือผิวน้ำคงไม่ทันสังเกตนี้ ก็เกิดเป็นคลื่นใต้น้ำของการเปลี่ยนแปลง สะสมกันจนจะกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และพร้อมสาดเข้ามาทุกเมื่อ

และตอนนี้ภาระหน้าที่ต่างๆ ได้คลี่คลายลงไปบ้างแล้ว ตุลยาก็พร้อมที่จะให้คลื่นมรสุมของความรู้สึกนั้นถาโถมเข้ามาช่วยชโลมความเศร้าที่กักเก็บมายาวนาน และเป็นการโอบรับว่านี่คือความเปราะบางที่ชีวิตต้องเผชิญ เพื่อที่เธอจะสามารถก้าวต่อไปได้

“นี่เป็นการไว้อาลัยแม่ในแบบของเรา”

“Let It Wash Over” ถือเป็นผลงานชิ้นแรกของตุลยาที่เลือกจะลดทอนองค์ประกอบที่จับต้องได้ อย่างเช่นรูปคนที่เธอมักสอดแทรกไว้ในงานก่อนๆ ออกไป เธอมีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้สึกของช่วงเวลาดังกล่าวออกมาผ่านซีรีส์งานศิลปะที่แตกต่างกันไป โดยมีแรงบันดาลใจมาจากบทสนทนากับเพื่อนและผู้ให้คำปรึกษา ที่พูดถึงว่าการพยายามผลักความรู้สึกออกไปนั้น ก็เป็นเหมือนการที่มีคลื่นซัดเข้ามา และเธอพยายามผลักออกไป แต่เมื่อผลักออกไปเรื่อยๆ หรือพยายามไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดนั้น เมื่อสะสมนานๆ เข้ามันอาจกลายเป็นสึนามิที่สร้างความเสียหายมหาศาล

ในช่วงเวลามืดหม่นและแปรปรวนด้วยลมพายุ ตุลยามองหาวิธีที่เธอสามารถคลี่คลายความรู้สึกภายในใจ จนท้ายที่สุดเธอเลือกที่จะปลดปล่อยคลื่นยักษ์ของความรู้สึกนั้นออกมาเป็นงานศิลปะ  สีน้ำเงินเฉดต่างๆ แทนสีน้ำทะเล รูปทรงที่คล้ายโขดหินเป็นเหมือนความรู้สึกหนักแน่นอยู่เหนือผิวน้ำ ที่ด้านล่างทั้งลึกและว่างเปล่าเหมือนความรู้สึกของเธอตอนที่แม่ไม่อยู่ แต่ขณะเดียวกันก็มีลายเส้นนามธรรมซึ่งพูดแทนสิ่งที่ไม่สามารถเอ่ยออกมาเป็นถ้อยคำได้ หลายๆ เส้นมีความคุ้มคลั่งคล้าย แต่ขณะเดียวกันก็สั่นเครือ เป็นเหมือนคลื่นใต้น้ำของความรู้สึกที่พร้อมจะระเบิดออก แต่ก็ต้องควบคุมเอาไว้ รูปทรงสี่เหลี่ยมคือการที่เธอระลึกขึ้นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วชีวิตของทุกคนก็ต้องจบลงอยู่ในกล่องหรือโลง ขณะที่งานบางชิ้นเป็นการหยิบเอาเงาที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบบนพื้นผิวอะครีลิกจนเกิดเป็นรูปทรงแปลกๆ ที่ให้ความรู้สึกสบายใจ ซึ่งเธอเรียกมันว่า “Spirit” เป็นเหมือนเป็นคำอวยพรและความปรารถนาดีที่แม่มีให้เธอเสมอ

นี่คือการปลดเปลื้องความรู้สึกที่ตุลยาไม่ได้มีโอกาสได้พูดออกมาในช่วงงานศพของแม่ เธอกล่าวว่านี่เป็นการแสดงความเสียใจและไว้อาลัยให้กับแม่ในแบบของเธอเป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้าย

information provided by event organizer

สารัตถะ สเปส

โรงแรมรีโนบางกอก 40 ซ.เกษมสันต์1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวันกรุงเทพฯ10330

โซน

2

ทุกวัน 11:00-19:00

BTS: สนามกีฬาแห่งชาติ

สารัตถะ สเปส

โรงแรมรีโนบางกอก 40 ซ.เกษมสันต์1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวันกรุงเทพฯ10330

โซน

2

ทุกวัน 11:00-19:00

BTS: สนามกีฬาแห่งชาติ

สารัตถะ สเปส

โรงแรมรีโนบางกอก 40 ซ.เกษมสันต์1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวันกรุงเทพฯ10330

โซน

2

ทุกวัน 11:00-19:00

BTS: สนามกีฬาแห่งชาติ

MORE LIKE THIS

Art Always thesis

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Still Here

ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฏ์

ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฏ์

ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฏ์

DAP 1st Art Thesis Exhibition “INTO THE CHAPTERS”

นักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เศษเสี้ยวแห่งนิรันดร์

ชานิน พลภาณุมาศ

ชานิน พลภาณุมาศ

ชานิน พลภาณุมาศ